วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาผลิตข้าวซ้อมมือของชุมชน ตำบลท่าซัก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช

ภูมิปัญญาผลิตข้าวซ้อมมือของชุมชนตำบลท่าซัก

ข้อมูลทั่วไปตำบลท่าซัก

            ตำบลท่าซัก  อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ  ๔.๕  กิโลเมตร  พื้นที่ทั้งหมด  ๔๕.๐๘๐  ตารางกิโลเมตร  จำนวน  ๙  หมู่บ้าน  พื้นที่ทางการเกษตรประมาณ  ๕,๐๐๐  ไร่  ประชากรตำบลท่าซักรวม  ๑๐,๐๒๔  คน  ชาย  ๔,๙๔๐  คน  หญิง  ๕,๐๘๔  คน  จำนวนครัวเรือน  ๓,๓๙๙  ครัวเรือน  ความหนาแน่นของประชากร  ๒๓๓  คนต่อตารางกิโลเมตร
                  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 
                  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  คือ  ข้าว  เกษตรกรประกอบอาชีพการเกษตรมากกว่า  ๑  กิจกรรม  คือทำนาควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์  ทำประมง  เลี้ยงปลา  และปลูกผัก
                  พืชสัตว์เศรษฐกิจ
                           เกษตรกร  เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย  ปูดำ  ปลากะพง  แพะ  และวัวพันธ์พื้นเมือง 
                  การประมง
                           เกษตรกรหมู่ที่  ๖ ถึงหมู่ที่  ๙   อยู่ติดกับบริเวณชายฝั่งทะเล  มีอาชีพออกเรือหาปลา  และเลี้ยงกุ้งนาธรรมชาติ
                         ข้อมูลการตลาด
                  - ข้าว  เกษตรกรขายให้แก่พ่อค้าโรงสีในหมู่บ้าน  และโรงสีในตำบลใกล้เคียง
                  - สัตว์  (สัตว์ปีก วัว  แพะ)  ขายกับพ่อค้าที่มารับซื้อในหมู่บ้าน  และตลาดในตัวเมือง
                        - ประมง  (ปลาดุก ปลากะพง  กุ้ง  ปูดำ)  ขายให้กับแม่ค้าที่มารับซื้อที่ปากบ่อและบางส่วนนำไปขายในตลาดในตัวเมือง 
                        - พืชผัก  ขายให้กับแม่ค้าที่มารับซื้อในหมู่บ้าน  และขายในตลาดในตัวเมือง
                                 จากการสำรวจตำบลท่าซักมีแหล่งเรียนรู้หลายๆ  แหล่งที่น่าสนใจ  แต่ในที่นี้จะขอนำแหล่งเรียนรู้ชุมชนตำบลท่าซัก  กลุ่มข้าวซ้อมมือตำบลท่าซัก  ที่มีชื่อเสียงมาให้ทุกคนได้เรียนรู้ดังนี้ 
 
แหล่งเรียนรู้ชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือตำบลท่าซัก
            กลุ่มแม่บ้าน  หมู่ที่๕  ตำบลท่าซัก  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรม  ได้รวมตัวกัน โดยการนำของนางบำรุง  สิริคุณ  ซึ่งเป็นคนตำบลท่าซักดังเดิม  แต่งงานกับนายมณี  สิริคุณ  มีบุตรด้วยกัน ๓ คน เป็นชายทั้งหมด  เริ่มทำข้าวซ้อมมือตั้งแต่ปี  ๒๕๔๙ ถึงปัจจุบันนี้  และนางบำรุง สิริคุณตอนนี้มีอายุ ๖๐ปีกว่าแล้ว   ท่านได้กล่าวว่า คนแถบนี้ดั่งเดิมมีการทำนาเป็นอาชีพ และปัจจุบันยังมีการทำนาอยู่บ้าง  แต่บางคนได้เลิกการทำนาไปแล้ว  เพราะมีหลายปัจจัยดัวยกัน คือ  ขาดทุน ไม่มีเวลา และรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ  แต่สำหรับกลุ่มชุมชนท่าซักได้ตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อผลิตข้าวซ้อมมือขึ้น  ซึ่งดำรงไว้ซึ่งคุณค่าแห่งภูมิปัญญาของตำบลท่าซักเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและยังมีแรงบันดาลใจมาจากพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัว  เพราะในหลวงดำริว่าจะกินกล้องและข้าวซ้อมมือ เพื่อเป็นอนุรักษ์ในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น และนางบำรุงยังได้กล่าวอีกว่า ได้ทำโครงการไปยังหน่วยงานของรัฐต่างๆ เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องของงบประมาณมาช่วยสิ่งเสริมในการอนุรักษ์ผลิตข้าวซ้อมมือเอาไว้แต่ไม่ผ่านแม้แต่ครั้งเดียว  จึงได้แต่ชักชวนคนในชุมชนที่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาการผลิตข้าวซ้อมมือของตำบลท่าซักให้อยู่ดำรงอยู่ได้ในปัจจุบันนี้
                สำหรับตลาดที่ส่งไปขายมีหลายแห่งด้วยกัน  เช่น ฝากกลุ่มประหลาดุกร้าไปขายตลาดต่างๆ  เช่น ตลาดเปิดท้าย เป็นต้น ขายกิโลละ  ๔๐  บาท และยังขายที่โรงพยาบาลมหาราชในทุกวันศุกร์ แต่สู่กับค่ารถไปไม่ไหวเลยต้องหยุดไป  ปัจจุบันนี้นางบำรุงดำเนินการผลิตข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือต่อไปถึงแม้อายุมาแล้ว แต่ยึดมั่นนิธานที่ว่า ในหลวงกินข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ  การผลิต
ผลิตข้าวซ้อมมือ  และข้าวกล้อง  โดยข้าวที่นำมาผลิตคือ  ข้าวสังหยด  ซึ่งจะมีลักษณะเมล็ดจะออกสีแดงเข้ม  จะง่ายต่อการหุง  มีรสชาติอร่อย  ไม่แข็ง  วิธีการปรุงข้าวอาจจะผสมกับข้าวธรรมดาก็ได้  เหมาะสำหรับทุกวัย
           
กระบวนการผลิต
                ในการผลิต  กลุ่มแม่บ้านจะผลิตโดยใช้เครื่องบทกะเทาะเปลือกที่มีความหยาบ  แต่ไม่ทำให้จมูกข้าวหักออก  ซึ่งจะมีแรงงานคนคนเดียวหมุน  คล้ายๆ โม้แป้ง  ซึ่งเครื่องบดกะเทาะเปลือกนี้ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน   
          หลังจากการที่มีการกะเทาะเปลือกออกแล้ว   ก็จะมีการแยกเปลือกและเมล็ดออกจากกัน  ข้าวที่ได้จะเป็นข้าวกล้อง  คือข้าวที่ผ่านการกะเทาะเอาเปลือกออกเท่านั้น  จึงหมายถึง  ข้าวที่ผ่านขัดสีเพียงครั้งเดียว  ข้าวที่ได้จึงเป็นข้าวที่มีสีขุ่น  แต่เป็นข้าวที่ยังคงมีจมูกข้าวและเหยื่อหุ้มเมล็ดข้าว  ซึ่งเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณค่าอยู่มาก)  เป็นส่วนที่มีคุณค่าทางอาหาร  เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย
ความแตกต่างระหว่างข้าวกล้องกับข้าวซ้อมมือ
                   เมื่อการกะเทาะเปลือกและมีการแยกเปลือกข้าวออกจากกันก็จะเป็นข้าวกล้อง  สำหรบบางคนไม่นิยมรับประธานข้าวกล้องเพราะมีความรู้สึกว่า  ข้าวจะแข็ง  รับประธานไม่อร่อย  ทางกลุ่มก็ได้นำข้าวกล้องมาผลิตเป็นข้าวซ้อมมืออีกทางเลือกหนึ่ง  ให้กับกลุ่มผู้บริโภคได้เลือก 
                โดยวิธีการนำข้าวกล้องมาตำกับครกไม้โบราณเพื่อขัดสีอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อให้ได้ข้าวซ้อมมือที่มีรสชาติ  นิ่ม  อร่อย  ไม่แข็ง
                หลังจากที่ได้นำข้าวกล้องมาตำกับครกไม้โบราณเพื่อขัดสี  เมื่อตำเสร็จก็จะนำข้าวที่ตำครกมาแยกข้าว  แยกรำข้าว  (จมูกข้าว)  ออกจากกัน  หลังจากนั้นก็นำมาบรรจุหีบห่อ
            คุณประโยชน์ระหว่างข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ  ข้าวกล้องจะมีประโยชน์มากกว่าข้าวซ้อมมือ  เนื่องจากข้าวกล้องได้ผ่านการขัดสีเพียงครั้งเดียว  แต่ยังคงเป็นข้าวที่คงมีจมูกข้าวและเหยื่อหุ้มเมล็ดข้าว  ซึ่งเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณค่าทางอาหารอยู่มาก  ส่วนข้าวซ้อมมือหลังจากผ่านการกะเทาะเปลือกแล้วต้องนำมาตำกับครกโบราณอีกครั้ง  ทำให้จมูกข้าวและเหยื่อหุ้มเมล็ดข้าวถูกทำลายไป  ซึ่งเราจะเรียกจมูกข้าวที่ถูกทำลายไปว่า  รำข้าว 

ประโยชน์อันล้ำค่าของข้าวกล้อง
        อาหารอายุวัฒนะ
        ข้าวกล้องเป็นอาหารธรรมชาติที่ถือได้ว่าเป็นอาหาร  มีสารอาหารกว่า  ๒๐  ชนิด  ข้าวกล้องมีสีน้ำตาลอ่อน  เป็นข้าวที่ขัดสีเพียงครั้งเดียวเพื่อเอาเปลือกออก (เอาแกลบออก)  จมูกข้าวและเหยื่อหุ้มเมล็ดข้าวซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมสารอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายนั้นยังคงอยู่ 
                ส่วนข้าวซ้อมมือถึงแม้จมูกข้าวจะถูกทำลายไปบ้างแต่ก็ยังมีสารอาหารเกือบสมบูรณ์  สำหรับข้าวที่เราบริโภคกัน  เป็นข้าวที่ถูกขัดสีหลายครั้งจนเหลือแต่เนื้อข้าวสีขาว  ที่แทบจะหาคุณค่าและประโยชน์ไม่ได้นอกจากแป้ง  ซึ่งเราคุ้นเคยและติดใจกับความนุ่ม  และสีขาวบริสุทธิ์น่ากิน  จนมองข้ามคุณค่ามหาศาลของข้าวกล้องไป
                คุณค่าทางอาหารและยา 
            ข้าวกล้อง  มีคุณค่าทางอาหารที่สำคัญหลายอย่าง  ในข้าวกล้องมีคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานแก่ร่างกาย  โปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  ไขมันชนิดที่มีอิ่มตัวให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย  เส้นใยเป็นส่วนเพิ่มกากอาหารทำให้การขับถ่ายสะดวก  ป้องกันอาการท้องผูกและการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

                มีวิตามินบี  ๑  ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา  ช่วยการทำงานของระบบประสาทให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ     
                มีวิตามินบี  ๒  ช่วยป้องกันปากนกระจอก  ช่วยเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน
                มีไนอาซิน  ช่วยในการทำงานของระบบผิวหนังและประสาท
                มีแคลเซียม  ฟอสฟอรัส  บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง  ธาตุเหล็กช่วยสร้างเมล็ดเลือดแดง 
                ในจมูกข้าวมีวิตามินอี  ซิลิเนียมและแมกนีเซียม  ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบต่างๆ  ของร่างกาย  ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  นอกนจากนี้วิตามินอี  มีส่วนช่วยชะลอความแก่และซิลีเนียมช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย
                ข้าวกล้องกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
            ก้าวแรกของการควบคุมเบาหวานด้วยอาหาร  คือการเปลี่ยนแปลงจากการกิน   ข้าวกล้องดีต่อโรคเบาหวานหลายกรณี  คือ
- ข้าวกล้องย้อยได้ช้ากว่า  กลูโคสที่ซึมเข้าไปช้ากว่าการกินข้าวขาว  แป้งขัดและน้ำตาล  ทำให้ผ่อนการทำงานของตับอ่อนได้ดี
- ข้าวกล้องมีสารเส้นใยมากกว่าข้าวขาว  แป้งขัดขาวและน้ำตาล  (ซึ่งไม่มีสารเส้นใยเลย)  สารเส้นใยช่วยให้อิ่มเร็ว  การกินแต่ละมื้อจึงรับแคลอรี่ไปไม่มาก  ทำให้เหลือน้ำตาลซึมเข้าไปในร่างกายน้อยลง  การควบคุมเบาหวานก็ง่ายขึ้น
- ข้าวกล้องมีวิตามินบีพร้อม  ซึ่งข้าวขาวไม่มี  ทำให้ร่างกายได้พลังงานจากข้าวกล้องหมดจดกว่า  กินข้าวกล้องปริมาณไม่มากแต่อยู่ท้อง  เพราะมีสารเส้นใยสูง  และไม่ค่อยหิวเพราะมีพลังงานใช้เหลือเฟือ  จึงทำให้น้ำหนักลดลงได้ดีกว่าการกินข้าวขาว 

ประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับจากแหล่งเรียนรู้ชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือ
                - ทุกคนจะได้เห็นคุณค่า  รู้สึกรัก  และห่วงแหน  ชีวิตความเป็นอยู่และภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่ตนได้อาศัยอยู่
                - ทุกคนที่ได้เรียนรู้วิธีการทำข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ  และการเกิดความคิดริเริ่ม  จะพัฒนาการผลิตให้เร็วขึ้น  เพื่อรองรับความต้องการของตลาด
                - ทุกคนได้ทราบถึงประโยชน์ของข้าวกล้อง  ข้าวซ้อมมือ  ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร  และสามารถนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบได้
                - ทุกคนได้รับการปลูกฝังให้สนใจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน  หรือปัญหาของสังคมในชุมชน  เพื่อจะได้นำความรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ปัญหาในการทำข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ
            ๑.  สถานที่ส่งออกอยู่ไกล
                    ๒. กลุ่มชุมชนที่ทำข้าวกล้องมีอายุสูงวัย
                    ๓. ฝนไม่ตกตามฤดูกาล
                    ๔. เกิดความขาดทุนอยู่กินไม่ได้ยั่งยืน
                    ๕. งานมีให้เลือกมาขึ้นดีกว่ามาทำข้าวซ้อมมือ  และมีค่าแรงแพงมาก
                    ๖.  ถุงใส่ข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือต้องใช้โลโก้  ในการผลิตต้องใช้ต้นทุนสูงเช่นกัน

บทสรุป
                    ข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดังเดิมที่ชาวตำบลท่าซักช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้  ด้วยแรงบันดาลใจจากแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวและยังได้เห็นคุณค่างทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของการทำกิน  และยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้คน  เพราะข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือมีคุณค่างทางอาหารและเป็นยาถือว่าเป็นภูมิปัญญาอย่างลุ่มลึกที่ผ่านกระบวนการคัดสรรค์เป็นอย่างดียิ่งของคนในชุมชนตำบลท่าซัก    ภูมิปัญญาการผลิตข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือของชุมชนตำบลท่าซักดำรงอยู่ได้หรือมิได้ขึ้นอยู่กับชุมชนและหน่วยของรัฐจะให้ความสำคัญและให้ความสนใจเห็นคุณค่ามากน้อยเพียงใดหรือจะปล่อยให้ภูมิปัญญาในการทำข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือตายไปกับคนสมัยก่อน  โดยที่คนรุ่นหลังมีให้ความสนใจ 



        สุภาษิต-คำคม
        เห็นพระ กราบพระ ครั้งใด              ทำใจ ให้ถูก ด้วยหนา
ชาวพุทธ กราบด้วย ปัญญา                          ใช่ว่า กราบอย่าง งมงาย
                เห็นพระ กราบพระ ครั้งใด              น้อมกาย น้อมจิต ชิดใกล้
หัวแหลม คือ ปัญญาไว                                     ทุกข์มา ดับได้ ทันที
                หูยาน คือความ หนักแน่น                ไม่แล่น รับเสียง เร็วรี่
ใครว่า ใครด่า ท้าตี                                               ไม่มี วิ่งโล่ โกรธา
                มองต่ำ คือตา สติ                                 ไม่ดำริ ให้เกิด ทุกข์หนา
ชาวพุทธ กราบด้วย ปัญญา                               เมตตา บริสุทธิ์ ตลอดเทอญ
                                  ------------------------------------------
                จงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี               จงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
                                          จงชนะคนพูดเท็จ ด้วยคำพูดจริง
                                      ------------------------------------------
                มารยาท คือเรียบร้อย                          ฝึกบ่อยๆ เป็นนิสสัย
                ฝึกกาย วาจา ใจ                                    จนนิสสัย สวยโสภา
                 ------------------------------------------
โลกนี้ มีปัญหา                                     ผู้มีปัญญา จะต้องแก้
ปัญหา ทั้งหลายแหล่                          จะต้องแก้ ด้วยปํญญา
                ------------------------------------------
ทนฺโท    เสฏฺโฐ    มนุสฺเสสุ                         ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
นิมิตฺตํ   สาธุ   รูปานํ   กตญฺญูกตเวทิตา        ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
                ------------------------------------------
ไม้คด เอาไว้ทำขอ                               เหล็กงอ เอาไว้ทำเคียว
คนคดโกง อย่างเดียว                          ใช้ทำอะไร ไม่ได้เลย
                ------------------------------------------
                หน้านอก บอกความงาม                    หน้าใน บอกความดี
            หน้าที่ บอกความสามารถ
------------------------------------------
                                       ไม่ดื้ออย่างเดียว   ดีหมดทุกอย่าง
ตื่นตัว   ว่องไว   ก้าวหน้า   ทำงานแข่งกับเวลา   เพื่อพัฒนาตนเอง
------------------------------------------

สาวกคำกลอน หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท

สาวกคำกลอน
พระสารีบุตร วุฒิ ปัญญาญาณ                               โมคคัลลาน อิทธิฤทธิ์ มหิสโส
สาคตะ เยี่ยมข้าง ทางเตโช                                   โกณทัญโญ รัตตัญญู ผู้ชรา
มหากัสสปะ ผู้ทรง ธุดงค์คุณ                                 ราหุล เยี่ยมข้าง ทางศึกษา
รัฐบาล เลิศยิ่ง ด้วยศัทธา                                    กังขา เรวัต สันทัศญาณ
โสภิตะ บุพเพ นิวาสะ                                         อานันทะ ทรงคุณ ห้าสถาน
คือ สุตะ คติ สติ วิจารณ์                                      ปัญญาญาณ ทรงจำ ล้ำสาวก
และเยี่ยมข้าง อุปัฏฐาก พระศาสดา                          พลิกปัญญา คือ มหาปันถก
เรวัตตะ เลิศผู้ อยู่ป่ารก                                       จุลปันถก ยิ่งด้วย นโยบาย
และเยี่ยมข้าง ทางเจโต วิรัตตะ                               มหากัจจายนะ แจกเนื้อ ความขยาย
สีวลี มีลาภ เกิดมากมาย                                      ราธะไซร้ เยี่ยมยิ่ง ปฏิภาณ
ธรรมกถึก ปุณณ มันตานี                                      อุบาลี เป็นเอก วินัยฐาน
อนุรุทธะ ทิพพะ จักขุญาณ                                     บริวาล มากยิ่ง อุรุเวล
นาลกะ โมนัยยะ ปฏิบัติ                                        น้อมด้วย ศัทธาวิมุติ พระวักกะลิเถระ
พากุละ ไม่อาพาธ ขาดจากเวร                                 อุปเสน เลื่อมใสรอบ ประกอบการ
ขิปปา ภิญญา พาหิยะ                                          ส่วนองค์พระ สุภูติ อะระณะวิหาร
ทั้งเป็นผู้ ควรรับ ทักษิณาทาน                                  อังคุลิมาล สามีบริโภค โลกเคารพ
วังคีสะ ยิ่งด้วย ปัญญาปฏิภาณ                                ธรรมวิจิตร พิสดาร พระกุมารกัสสปะ
ภัททิยะ ราชา เลิศสมภพ                                       เพียรปรารภ เลิศยิ่ง พระโสโณ
ปิลินทะ เจริญจิต แห่งเทพยา                                  โอวาทา ภิกษุณี วิเสโส
สำหรับองค์ อรหันต์ นันทะโก                                  เลิศโอวาท สงฆ์ องค์กัปปินะ
ยังตระกูล ให้เลื่อมใส พระกาฬุทายี                           ถึงปฏิสัม ภิทาสี่ พระโกฏฐิตะ
ครองจีวร เศร้าหมอง พระโมฆราช                             กุณฑะ ถือสลาก เป็นปฐโม
ปิณโฑล ภาร ทวาชะ                                           ผู้บันลือ สีหนาท วิเสโส
นันทะ ศากยะ สาวโก                                          มีมโน เกื้อกูล ในปฏิภาณ
และระวัง สำรวม ซึ่งอินทรีย์                                   มีวจี ไพเราะ เสนาะศานต์
คือโสณะ กุฏิกัณณะ มันตะญาณ                              และอีกท่าน ทัพพะ มัลลบุตร
เป็นเอกทาง แต่งตั้ง เสนาสนะ                                 สริพระ อรหันต์ ชั้นสูงสุด
เป็นเอกล้ำ สงฆ์ ทรงวิมุตติ                                    สี่สิบสอง ต้องตาม พุทธบรรหารเอย

พิธีทอดกฐิน

พิธีทอดกฐิน
"เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระพรรษา
ชาวพาราเซ้งแช่แห่กฐิน
ลงเรือเพียบพายยกเหมือนนกบิน
กระแสสินธ์ สาดปรายกระจายฟอง
สนุกสนานขานยาวฉาวสนั่น
บ้างแข่งขันต่อสู้เป็นคู่สอง
แพ้ชนะปะตาพูดจาลอง
ตามทำนองเล่นกฐินสิ้นทุกปี"              (นิราศเดือน)
พิธีทอดกฐิน   เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน  แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" ประชาชนชาวไทยจัดพิธีนี้อย่างสนุกสนาน ดังคำกลอนข้างต้นนั้น
กฐินแปลว่ากระไร?
                    คำว่า   กฐิน  แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน   แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้   และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน   การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า  พระสารีบุตร   พระมหาโมคคัลลานะ   พระมหากัสปะ   แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย   ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร   อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น   มาถวายพระภิกษุสงฆ์   มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน   โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้
เขตกำหนดทอดกฐิน
                    การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน
                    แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้   จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้
ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทอดจะทำอย่างไร
                    พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว   พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้
                    จองกฐิน   เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสังฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาง ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้
            เตรียมการ   ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผุ้มาในการกฐิน
                    ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)
                    วันงาน   พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาลเทศะแห่งท้องถิ่น
                    อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล
              การถวายผ้ากฐิน   การถวายผ้ากฐินเน้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว   พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้
                                                                พิธีกรานกฐิน
                    พิธีกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร
               เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม ๓ จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้
                    ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ   เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) ๓ จบ
                    ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ ๓ จบ
                    ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ ๓ จบ
                     ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ ๓ หนเสร็จแล้ว ตั้งนะโมพร้อมกัน ๓ จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงฆ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้   "อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ"  ๓ จบ   (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)  คำว่า   อาวุโส  นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเต  ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" ๓ จบสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา (ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษาแก่กว่าสงฆ์ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส) ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือเสร็จแล้วจึงนั่งพับเพียบลงเมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก ๓ จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่ง ต่อแต่นั้นกราบพระ ๓ หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐิน
                                                                อานิสงส์กฐินสำหรับพระ
ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ ๕ คือ
                               ๑.เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
                               ๒.เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
                               ๓.ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
                               ๔.เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
                               ๕.ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น
อานิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด
                                โดยทั่วไปผู้เขียนเองและแม้ผู้รู้บางท่านก็ยังไม่เคยพบในพระบาลีที่ระบุไว้โดยตรง แต่ว่าการทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่ง ๆ ต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั่งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรใหมาร่วมการกุศล   กาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย
คำถวายผ้ากฐินอย่างมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (ว่า ๓ หน)
                              แปลว่า "ข้าพเจ้า    ทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์"
คำถวายผ้ากฐิน อย่างธรรมยุตติกนิกาย
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
                         แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ   ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ"

กฐิน
เพื่อให้ทันเหตุการณ์ ทันสมัยถูกกาลถูกเวลา ตามที่เขียนไว้เบื้องต้นว่า "ฤดูกาลทอดผ้ากฐิน" ดังนั้นในที่นี้จึงขออธิบายคำว่า "กฐิน" ซึ่งมีความหมายขยายความได้ถึง ๔ ประการ ได้แก่
     .เป็นชื่อของกรอบไม้สะดึง สำหรับขึงผ้าเพื่อเป็นแม่แบบการทำจีวร
     .เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแด่พระสงฆ์เพื่อทำจีวร
     .เป็นบุญกิริยา คือ การทำบุญในการถวายผ้ากฐิน
     .เป็นชื่อของสังฆกรรมอันเป็นกิจกรรมของสงฆ์ ที่พระสงฆ์ในวัดนั้นๆ
               จะต้องมีความสามัคคีพร้อมเพรียงพร้อมใจ ให้ความสำคัญร่วมมือร่วมใจเอาใจใส่กิจของสงฆ์ดังกล่าวนี้ให้สำเร็จลุล่วงให้ถูกต้องตามพระวินัยด้วยดี และให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาต ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ร่วมกันทำผ้ากฐินและรับผ้ากฐินได้ หลังจากอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาส คืออยู่จำพรรษาได้ ๓ เดือนผ่านไปแล้วฤดูกาลทอดผ้ากฐิน ก็จะเริ่มต้นวันแรกตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือให้เข้าใจง่ายๆ จะเริ่มทอดกฐินแต่ละปี คือ วันที่พวกเราชาวพุทธทำบุญตักบาตรเทโว โดยจะมีเวลาทำบุญทอดกฐินไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เพื่อจดจำง่ายๆ วันสิ้นสุดของการทอดกฐินตรงกับประเพณีวันลอยกระทงของชาวไทย หรือวันเพ็ญเดือน ๑๒ รวมวันเวลาทำบุญประเพณีทอดกฐินเพียง ๑ เดือนเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า "กาลทาน" คือ การทำบุญทำทานในกาลเวลาที่จำกัด เชื่อถือกันว่าได้บุญกุศลอานิสงส์มาก จะทอดกฐินก่อนวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือหลังวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ก็จะไม่ใช่การทอดผ้ากฐินจะเป็นการทำบุญอย่างอื่นไม่ใช่ทอดกฐินสำหรับปีนี้เริ่มฤดูกาลทอดกฐินตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นวันออกพรรษาของพระสงฆ์และเป็นวันตักบาตรเทโว ส่วนวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นวันปวารณาเพื่อจะออกพรรษาของพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น (อย่าเข้าใจสับสนเพราะมีการเข้าใจผิดพลาดสับสนในเรื่องนี้อยู่พอสมควร) วันสุดท้ายของการทอดกฐินของปีนี้จะตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นวันประเพณีลอยกระทงประจำปีนี้
ประเภทของกฐินมีอยู่หลายประเภทได้แก่กฐินหลวง คือ ผ้าพระกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินทรงนำไปถวายยังพระอารามหลวง หรือวัดราษฎร์ที่มีหมายกำหนดการรับสั่งเป็นพระราชพิธีทางราชการ กฐินต้น คือ ผ้าพระกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินทรงนำไปถวาย ณ วัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์ โดยไม่มีกำหนดการเป็นพระราชพิธี กฐินพระราชทาน คือ ผ้าพระกฐินที่พระราชทานให้กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานเอกชนนำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงต่างๆ ตามที่ขอรับพระราชทานไว้ ซึ่งปัจจุบันมีพระอารามหลวงทั่วประเทศถึง ๒๖๙วัด และกฐินราษฎร์ คือ กฐินที่หน่วยงานบริษัท ห้างร้าน เอกชนทั่วไปนำไปทอดยังวัดราษฎร์ต่างๆ อาจเป็นลักษณะกฐินสามัคคีจัดเป็นมหากฐินที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นจุลกฐิน แล้วแต่ความสะดวก ความสามารถและความพร้อม
กฐิน
การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)
ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้
การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น
เขตกำหนดทอดกฐิน   การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐินแต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษะรับไว้ก่อนได้การที่มีประเพณีทอดกฐินมีเรื่องว่า ในครั้งพุทธกาล พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน ๓๐ รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวันมหาวิหารนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนกรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ ๕ ประการคือ
     ๑) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
     ๒) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
     ๓) ฉันคณะโภชน์ได้
     ๔) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
     ๕) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กราน                                   กฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกา๘  คือการกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกันฉะนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้ การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ
                จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคีการทอดกฐินในเมืองไทย แบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือพระอารามหลวง ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ไปพระราชทาน เครื่องกฐินทานนี้จัดด้วยพระราชทรัพย์ของพระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง บางทีก็เสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย นิยมเรียกว่า กฐินต้น ผ้ากฐินทานนอกจากที่ได้รับกฐินของหลวงโดยตรงแล้ว พระอารามหลวงอื่น ๆ จะได้รับ กฐินพระราชทาน ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้ากฐินทาน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หรือเอกชนให้ไปทอด โดยรัฐบาลโดยกรมศาสนาจัดผ้าพระกฐินทาน และเครื่องกฐินถวายไป ผู้ได้รับพระราชทานอาจจะถวายจตุปัจจัย หรือเงินทำบุญที่วัดนั้นโดยเสด็จในกฐินพระราชทานได้ ส่วนวัดราษฎร์ทั่วไป คณะบุคคลจะไปทอดโดยการจองล่วงหน้าไว้ก่อนตั้งแต่ในพรรษา ก่อนจะเข้าเทศกาลกฐินถ้าวัดใดไม่มีผู้จอง เมื่อใกล้เทศกาลกฐิน ประชาชนทายกทายิกาของวัดนั้น ก็จะรวบรวมกันจัดการทอดกฐิน ณ วัดนั้นในเทศกาลกฐิน
                                                                    การจองกฐิน
             วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทำเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียงสงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้
           สำหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชีไว้กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่าง ๆ จนก่อนถึงวันกำหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินพระราชทานจากกรมศาสนา
                                                   การนำกฐินไปทอด
             ทำได้สองอย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐิน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทานมาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย อีกอย่างหนึ่ง ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส นับว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัดเป็นงานใหญ่ มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึงกำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด มีเครื่องบรรเลงมีการฟ้อนรำนำขบวนตามประเพณีนิยม
การถวายกฐิน
                นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์
กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง
การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี
คำถวายกฐิน
มีอยู่สองแบบด้วยกันคือ แบบเก่า และแบบใหม่ ดังนี้
คำถวายแบบมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (กล่าวสามหน)
   ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน พร้อมกับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ (กล่าวสามหน)
คำกล่าวแบบธรรมยุต
อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ ปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย      ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกราลกฐินด้วยผืนนี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ
ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทอดจะทำอย่างไร
พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ ๑ ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้
จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาง ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้
เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผุ้มาในการกฐิน
ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี ๓ ไตร คือ องค์ครอง ๑ ไตร คู่สวดองค์ละ ๑ ไตร)

วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น ๒ วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น
อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล
การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน ๓ จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้
พิธีกรานกฐิน
พิธิกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร
เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม ๓ จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้
ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสัมฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) ๓ จบ
ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าจ้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ ๓ จบ
ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ ๓ จบ
ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ ๓ หนเสร้จแล้ว ตั้งนะโมพร้อมกัน ๓ จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงฆ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้
"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" ๓ จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเต
ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา(ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษาแก่กว่าสงฆ์ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส)
ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือเสร็จแล้วจึงนั่งพับเพียงลง
เมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก ๓ จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่งต่อแต่นั้นกราบพระ ๓ หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐิน
อานิสงส์กฐินสำหรับพระ
ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ ๕ คือ
     . เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
     . เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
     . ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
     . เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
     . ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น
อนิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด
โดยทั่วไปผู้เขียนเองและแม้ผู้รู้บางท่านก็ยังไม่เคยพบในพระบาลีที่ระบุไว้โดยตรง แต่ว่าการทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่ง ๆ ต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั่งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรใหมาร่วมการกุศล กาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย
คำถวายผ้ากฐิน อย่างมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (ว่า ๓ หน)
แปลว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์"
คำถวายผ้ากฐิน อย่างธรรมยุตติกนิกาย
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ"
หมายเหตุ
ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ
 ๑. จุลกฐิน ๒.ธงจระเข้
. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว
"วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน ๑๒ คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน ๑๒ อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่"
. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี ๒ มติ คือ
. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัง คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
     . อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

หมายเหตุ
                               ในการทอดกฐินนี้   ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธรจระเข้
                                            1.   จุลกฐิน   มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว
                                "วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็ฯที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่"   (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)
                                           2.   ธงจระเข้    ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ
                    1.   ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัย คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
                    2.   อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้